บรูไน

กล้วยแขก ของหวานประจำชาติ บรูไน


ประวัติความเป็นมา
กล้วยแขก เป็นขนมชนิดหนึ่งซึ่งปรุงโดยการนำกล้วยตัดเป็นแผ่นหรือหั่นครึ่งแล้วมาชุบน้ำแป้งซึ่งมีส่วนผสมของแป้งข้าวเจ้า มะพร้าวขูด งา (คั่วก่อนเพื่อเพิ่มความหอม) น้ำตาล และกะทิ แล้วจึงนำไปทอดในน้ำมันร้อนในกระทะ ใช้รับประทานเป็นอาหารว่าง ซึ่งตามปกติแล้วไทยเราก็มีกล้วยแขกขายและบริโภคจนอาจคิดว่าเป็นขนมประจำชาติของเรา

วัตถุดิบ

    • กล้วยน้ำวาห่าม 1 หวี
    • แป้งข้าวเจ้า 2 ถ้วย
    • แป้งสาลี 1 ถ้วย
    • มะพร้าวขูด 1 ถ้วยตวง
    • เกลือ 1/2 ช้อนชา
    • หัวกะทิ 1 1/2 ถ้วยตวง
    • งาคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ
    • น้ำตาลปี๊บ 3 ช้อนโต๊ะ
    • น้ำปูนใส 1/2 ถ้วยตวง
    • น้ำมันพืช สำหรับทอด
วิธีทำ

  1. นำแป้งข้าวเจ้า แป้งสาลี เกลือ นวดกับหัวกะทิ และมะพร้าวขูด นวดให้เข้ากัน ใส่น้ำปูนใส แล้วนวดต่อ ใส่งาลงไปให้ทั่ว
  2. ตั้งกระทะไฟปานกลาง ใส่น้ำมันกะให้ท่วมกล้วยที่จะทอด เมื่อน้ำมันร้อนนำกล้วยที่หั่นตามยาว 3-4 ชิ้น ต่อ 1 ลูก (แล้วแต่ลูกใหญ่หรือเล็ก) ชุบแป้งที่ผสมไว้ตามข้อ 1 ใส่ในน้ำมันจนเต็มกระทะ
  3. ทอดจนแป้งเหลืองกรอบ และเนื้อกล้วยสุก ตักขึ้นพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมันก่อนแล้วค่อยเสิร์ฟ
ที่มา:https://bantitajeeraporn.wordpress.com

กัมพูชา

กระยาสารท ของหวานประจำชาติ กัมพูชา


ประวัติความเป็นมา
กระยาสารท (/กระยาสาด/) เป็นขนมไทย ทำจากถั่ว งา ข้าวคั่ว และน้ำตาล มักทำกันมากในช่วงสารทไทยแรม 15 ค่ำ เดือน 10 และบางท้องถิ่นนิยมรับประทานกับกล้วยไข่ มีกล่าวถึงในนิราศเดือนว่า[1] ขนมกระยาสารทเป็นขนมโบราณ มีความพิเศษตรงที่เป็นขนมสำหรับงานบุญประเพณีของไทย เรียกได้ว่าเป็นขนมที่มีประเพณี และวันเวลาเป็นของตัวเองชัดเจนมากเลยทีเดียว จนอาจจะทำให้หลายคนนึกสงสัยขึ้นมาได้ ว่าทำไมขนมกระยาสาทรหอมหวานที่เป็นแพเหนียว ๆ นี้ จึงมีความสำคัญมากเสียจนต้องจัดพิธีทำบุญด้วยขนมกระยาสารท
แม้ขนมกระยาสารทจะเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่รากศัพท์ของคำว่าสารทจริง ๆ แล้วเป็นคำในภาษาอินเดีย มีความหมายว่า ฤดูใบไม้ร่วง หรือช่วงระยะปลายฝนต้นหนาว ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับฤดูการผลิดอกออกผลของพืชพันธุ์ โบราณจึงถือกันวาควรจะนำผลผลิตเหล่านั้นมาถวายแด่สิ่งศักสิทธิ์เพื่อเป็นการสักการะ และขอพรให้พืชของตนออกดอกออกผลดกดี และประเพณีนี้ก็มีในแถบประเทศจีนและตอนเหนือของยุโรปด้วย แต่สำหรับไทยแล้วประเพณีนี้มาแพร่หลายในช่วงสมัยสุโขทัย พร้อม ๆ กับพราหมณ์ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในไทย แต่ช่วงเวลาของประเพณีตามอินเดีย เป็นช่วงเวลาที่ตรงกับระยะข้าวเริ่มออกรวงของไทย ชาวบ้านจึงเกี่ยวข้าวที่ยังมีเปลือกอ่อน ๆ และเมล็ดยังไม่แก่ เอามาคั่วแล้วตำให้เป็นเมล็ดข้าวแบน ๆ เรียกว่า ข้าวเม่าแทน
ส่วนตำราความเชื่อของขนมกระยาสารทมีอยู่ 2 ตำราด้วยกัน ตำราหนึ่งกล่าวว่า มีพี่น้องอยู่สองคนชื่อ มหากาลผู้พี่ และจุลกาลผู้น้อง ทั้งสองทำการเกษตรกรรมร่วมกันคือ ปลูกข้าวสาลีบนที่ผืนเดียวกัน จุลกาลนั้นเห็นว่าข้าวสาลีที่กำลังท้องนั้นมีรสหวานอร่อย ก็เลยอยากนำข้าวนั้นไปถวายแด่พระสงฆ์ จึงปรึกษากับมหากาลพี่ชาย แต่มหากาลไม่เห็นด้วย มหากาลจึงแบ่งที่ดินออกเป็น 2 ส่วน เพื่อให้ต่างคนต่างนำข้าวไปใช้กิจอันใดก็ได้ จุลกาลจึงนำเมล็ดข้าวที่กำลังตั้งท้องมาผ่า แล้วต้มกับน้ำนมสด ใส่เนยใส น้ำผึ้ง น้ำตาลทรายกรวด เมื่อเสร็จแล้วจึงนำไปถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อถวายภัตตาหารเหล่านี้แด่พระสงฆ์ จุลกาลได้ทูลความปรารถนาของตนกับพระพุทธเจ้าว่า ขอให้ตนบรรลุธรรมวิเศษก่อนใคร และเมื่อกลับบ้านไป ก็พบว่านาข้าวสาลีของตนนั้นออกรวงอุดมสมบูรณ์สวยงาม จนเก็บเกี่ยวไป 9 ครั้งก็ยังอุดมสมบูรณ์อยู่อย่างนั้นตลอดไป
เป็นอาหารที่ทำให้ฤดูสารท กระยาสารทนี้เนื่องมาจาก ข้าวมธุปายาส ซึ่งเป็นอาหารอินเดียใช้ข้าว น้ำตาล น้ำนม ผสมกัน ซึ่งนางสุชาดาหุงถวายพระพุทธเจ้าส่วนผสมของกระยาสารทไทยมีข้าวตอก ข้าวเม่า ถั่วลิสง งาคั่วให้สุกเสียก่อน แล้วนำมากวนกับน้ำอ้อยกวนให้เหนียวกรอบเกาะกันเป็นปึก จะทำเป็นกรอบเป็นก้อนหรือตัดเป็นชิ้นๆ เก็บไว้ได้นานทำจากพืชผลแรกได้กระยาสารทเป็นของหวานจัด โดยมากจะกินกับกล้วยไข่สุกทำถวายพระเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว กระยาสารทกำหนดทรงบาตรที่วิเศษ ในการพระราชพิธีสารทนี้ตกทอดกันมานาน
คนผู้นับถือพระพุทธศาสนาจะพากันหยุดงาน ตระเตรียมสิ่งของทำบุญที่เรียกว่ากระยาสารทเป็นของหวาน ประจำเทศกาลสารท นิยมทำกันก่อนวันสิ้นเดือนเป็นวันโกน วันแรม 14 ค่ำ เดือน 10
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเมื่อถึงวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งตรงกับเดือนกันยายน ชาวบ้านจะกวนกระยาสารทมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว จนกลายเป็นประเพณีสารทไทย หรือเทศกาลกวนขนมกระยาสารทจนถึงทุกวันนี้นั่นเอง ปรากฎคำกลอนในนิราศเดือนว่า
ถึงเดือนสิบเห็นกันเมื่อวันสารทใส่อังคาสโภชนากระยาหาร
กระยาสารท กล้วยไข่ใส่โตกพานพวกชาวบ้านถ้วนหน้าธารณะ
กระยาสารทเป็นสัญลักษณ์ของ ผลิตผลทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นการทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา ซึ่งเป็นการเก็บ พืชผลครั้งแรกอีกด้วย

ส่วนผสมและสัดส่วน 
  1. ข้าวตอก 1 ½ กิโลกรัม
  2. ถั่วลิสง 6 กิโลกรัม 
  3. งาขาวคั่ว 5 กิโลกรัม
  4. ข้าวเม่า 12 กิโลกรัม 
  5. แบะแซ 8 กิโลกรัม 
  6. น้ำตาลปี๊บ 15 กิโลกรัม 
  7. กะทิ 12 กิโลกรัม

วิธีปรุง

1. นำถั่วลิสง งา ข้าวเม่า มาคั่วให้สุกพอประมาณ แล้วพักไว้

         2. นำกะทิมาเคี่ยวกับน้ำตาลปี๊บ จนน้ำตาลละลาย จากนั้นใส่แบะแซลงไปผสม เคี่ยวให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน หรอจนเหนียวข้นเป็นยางมะตูม

        3. ใส่ถั่วลิสง ข้าวตอก ข้าวเม่า งาขาวที่คั่วเตรียมไว้ลงไปผสมในน้ำกะทิ เคี่ยวไปเรื่อยๆ โดยใช้ไฟอ่อน ประมาณ 30 นาที

        4. ตักใส่ถาดสี่เหลี่ยม พักไว้พออุ่น ตัดเป็นสี่เหลี่ยม พักไว้ให้เย็น


ที่มา: https://th.openrice.com/th/recipe/

อินโดนีเซีย

วุ้นมะพร้าว ของหวานประจำชาติ อินโดนีเซีย


ประวิตความเป็นมา
วุ้นมะพร้าว หรือ วุ้นสวรรค์  เป็นขนมชนิดหนึ่งที่มีลักษณะหนึบ ๆ สีใส และลักษณะคล้ายเยลลี่ ผลิตจากการหมักน้ำมะพร้าวผ่านประมวลการทำให้แข็งตัวจนกลายเป็นเซลลูโลสโดยใช้ Acetobacter xylinum เชื่อกันว่าวุ้นมะพร้าวมีต้นกำเนิดมาจากประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งที่นั่น วุ้นมะพร้าวเป็นขนมหวานที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยสามารถกินกับของดอง เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ไอศกรีม พุดดิง และผลไม้รวมได้
แผ่นวุ้นที่เกิดจากการหมักโดยจุลินทรีย์ A. xylinum เป็นพอลิเมอร์ของน้ำตาลกลูโคสต่อกันด้วยพันธะบีตา-1,4 ไกลโคซิดิก (b-1,4 glycosidic bond) หรืออาจเรียกว่าเป็นเนื้อเยื่อประเภทเซลลูโลส จากโครงสร้างทางเคมีของวุ้นน้ำมะพร้าวทำให้น้ำย่อยหรือเอนไซม์ในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ไม่สามารถย่อยได้  จึงถูกจัดเป็นสารอาหารประเภทเส้นใยอาหาร (dietary fiber) และจากคุณสมบัตินี้จึงทำให้สามารถใช้วุ้นน้ำมะพร้าวเป็นส่วนของอาหารในการลดน้ำหนักได้ และมีประโยชน์ในแง่การส่งเสริมสุขภาพช่วยระบบขับถ่าย วุ้นน้ำมะพร้าวสามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารคาวหวานได้หลายชนิด เช่น วุ้นลอยแก้วรวมมิตร นำมาแทนปลาหมึกหรือแมงกะพรุนในอาหารประเภทต่าง ๆ  นอกจากนี้ยังนิยมนำมาผสมในเยลลี่ โยเกิร์ต และไอศกรีม



ส่วนผสม วุ้นมะพร้าวอ่อน

          • น้ำมะพร้าว 1.5 ลิตร
          • เนื้อมะพร้าวอ่อน (ขูดเตรียมไว้แล้ว)
          • ผงวุ้น 13 กรัม
          • น้ำตาลทราย (ความหวานตามชอบ)

วิธีทำวุ้นมะพร้าวอ่อน

• ผสมน้ำมะพร้าว น้ำตาลทราย และผงวุ้น คนให้เข้ากัน พอผงวุ้นกับน้ำตาลละลายก็ตั้งเตาเปิดไฟ
  • คนไปเรื่อย ๆ จนวุ้นเริ่มเดือดก็ใส่มะพร้าวอ่อน เคี่ยวด้วยไฟอ่อนประมาณ 10 นาที 
 • วุ้นมะพร้าวเคี่ยวเสร็จแล้วค่ะ เตรียมตักวุ้นใส่ในลูกมะพร้าวได้เลย
 • ตักวุ้นใส่ในลูกมะพร้าว ค่อย ๆ ตัก ระวังร้อนค่ะ
  • ตักวุ้นใส่ให้เต็มทั้ง 2 ลูก แล้วนำไปแช่ตู้เย็น 2-3 ชั่วโมง ก็รับประทานได้แล้วค่ะ

ที่มา; https://cooking.kapook.com

ลาว

น้ำตาลอ้อย ของหวานประจำชาติ ลาว


ประวัติความเป็นมา
น้ำตาล เป็นชื่อเรียกทั่วไปของคาร์โบไฮเดรตชนิดละลายน้ำ โซ่สั้น และมีรสหวาน ส่วนใหญ่ใช้ประกอบอาหาร น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน มีน้ำตาลหลายชนิดเกิดมาจากที่มาหลายแหล่ง น้ำตาลอย่างง่ายเรียกว่าโมโนแซ็กคาไรด์และหมายรวมถึงกลูโคส (หรือ เด็กซ์โตรส) ฟรุกโตส และกาแลกโตส น้ำตาลโต๊ะหรือน้ำตาลเม็ดที่ใช้เป็นอาหารคือซูโครส เป็นไดแซ็กคาไรด์ชนิดหนึ่ง (ในร่างกาย ซูโครสจะรวมตัวกับน้ำแล้วกลายเป็นฟรุกโตสและกลูโคส) ไดแซ็กคาไรด์ชนิดอื่นยังรวมถึงมอลโตส และแลกโตสด้วย โซ่ของน้ำตาลที่ยาวกว่าเรียกว่า โอลิโกแซ็กคาไรด์ สสารอื่น ๆ ที่แตกต่างกันเชิงเคมีอาจมีรสหวาน แต่ไม่ได้จัดว่าเป็นน้ำตาล บางชนิดถูกใช้เป็นสารทดแทนน้ำตาลที่มีแคลอรีต่ำ เรียกว่าเป็น วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล (artificial sweeteners)
น้ำตาลพบได้ทั่วไปในเนื้อเยื่อของพืช แต่มีเพียงอ้อย และชูการ์บีตเท่านั้นที่พบน้ำตาลในปริมาณความเข้มข้นเพียงพอที่จะสกัดออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อ้อยหมายรวมถึงหญ้ายักษ์หลายสายพันธุ์ในสกุล ที่ปลูกกันในเขตร้อนอย่างเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่สมัยโบราณ การขยายการผลิตเกิดขึ้นในคริสศตวรรษที่ 18 พร้อมกับการสร้างไร่น้ำตาลในเวสต์อินดีส และอเมริกา เป็นครั้งแรกที่คนทั่วไปได้ใช้น้ำตาลเป็นสิ่งที่ให้ความหวานแทนน้ำผึ้ง ชูการ์บีต โตเป็นพืชมีรากในที่ที่มีอากาศเย็นกว่าและเป็นแหล่งที่มาส่วนใหญ่ของน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 หลังจากมีวิธีสกัดน้ำตาลเกิดขึ้นหลายวิธี การผลิตและการค้าน้ำตาลเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีชีวิตของมนุษย์ มีอิทธิพลต่อการก่อตั้งอาณานิคม การมีอยู่ของทาส การเปลี่ยนผ่านไปสู่สัญญาแรงงาน การย้ายถิ่นฐาน สงครามระหว่างชาติที่ครอบครองน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 การรวมชนชาติและโครงสร้างทางการเมืองของโลกใหม่
โลกผลิตน้ำตาลประมาณ 168 ล้านตันในปี พ.ศ. 2554 โดยเฉลี่ยคนบริโภคน้ำตาล 24 กิโลกรัมต่อปี (33.1 กก. ในประเทศอุตสาหกรรม) เทียบเท่ากับอาหารปริมาณมากกว่า 260 แคลอรีต่อวัน
ตั้งแต่ปลายคริสต์ศควรรษที่ 20 มีข้อสงสัยว่าอาหารที่มีน้ำตาลสูง โดยเฉพาะน้ำตาลขัดแล้ว ดีต่อสุขภาพมนุษย์ น้ำตาลมีส่วนทำให้เกิดโรคอ้วน และเป็นที่สงสัยว่าเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคสมองเสื่อม โรคจอประสาทตาเสื่อม และฟันผุ มีการศึกษาหลายครั้งเพื่อยืนยันแต่ด้วยผลลัพธ์ที่หลากหลาย โดยหลักเป็นเพราะการหาประชากรที่ไม่บริโภคน้ำตาลให้เป็นปัจจัยควบคุมนั้นทำได้ยาก

วัสดุอุปกรณ์ในการทำน้ำตาลอ้อย 
1. เครื่องหีบอ้อย
2. กะทะใบบัว
3. ไม้พาย
4. แบบพิมพ์
5.มีด
6.อ้อยอินทรีย์ ปลอดสารพิษ


วิธีการทำน้ำตาลอ้อย และน้ำตาลรำปลอดสารพิษ

1. นำอ้อยมาตัดเป็นท่อนพอประมาณ ขูดทำความสะอาด ล้างน้ำ แล้วนำเข้าเครื่องหีบอ้อย บีบคั้นเอาน้ำอ้อยออกมา ส่วนชานอ้อยที่เหลือนำไปตากแห้งประมาณ 1 แดด จากนั้นนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงเคี่ยวน้ำอ้อย

 2. กรองด้วยผ้าขาวบางเอาสิ่งเจือปนออก แล้วนำน้ำอ้อยมาต้ม เร่งไฟให้ร้อนจนน้ำอ้อยเดือด
3. เมื่อน้ำอ้อยเริ่มงวดให้ผ่อนไฟลง และใช้ไม้พายคนให้ทั่วและบ่อยๆ เคี่ยวด้วยไฟอ่อนจนน้ำอ้อยเริ่มเหนียว
4.เมื่อน้ำอ้อยเหนียวได้ที่ (สีน้ำตาลไหม้) นำไปใส่ในแม่พิมพ์ที่ทำจากไม้หนา 1 นิ้ว เจาะรูกว้าง 2.5 เซนติเมตร ทำเป็นกระบะขนาด 60 ? 120 เซนติเมตร เกลี่ยให้ทั่วกระบะไม้

5. รอให้น้ำอ้อยแข็งตัวประมาณ 3 – 5 นาที นำออกจากแม่พิมพ์ก็จะได้น้ำตาลอ้อยแท้บริสุทธิ์

6.ถ้าต้องการน้ำตาลรำ หรือน้ำตาลผง เมื่อเคี่ยวเหนียวได้ที่ ไม่ต้องตกมาใส่พิมพ์ ให้เคียวไปเรื่อยๆจนแห้ง พร้อมทั้งทำการบี้ให้น้ำตาลแตกเป็นผงไปด้วย เราก็จะได้น้ำตาลรำปลอดสารพิษ เหมือนที่เขาใช้ใส่กาแฟ ตามร้านกาแฟทั่วไป...

มาเลเซีย

โรตี ของหวานประจำชาติ มาเลเซีย


ประวัติความเป็นมา
โรตี เป็นอาหารชนิดหนึ่ง ทำจากแป้ง นวดแล้วนำไปทอดหรือปิ้งเป็นแผ่นบางๆ รับประทานเป็นของหวาน หรือรับประทานพร้อมอาหารคาวอื่นๆ ก็ได้ ในประเทศไทยมักจะคุ้นกับโรตีที่ทอดเป็นแผ่นนุ่ม ราดด้วยนมข้นและน้ำตาลทราย เป็นของหวาน
คำว่า โรตี เป็นคำศัพท์ที่พบได้ในหลายภาษา ได้แก่ ภาษาฮินดีอุรดูปัญจาบีโซมาลีอินโดนีเซีย และ มลายู ซึ่งล้วนแต่มีความหมายว่า ขนมปัง

ส่วนผสมมีดังนี้

แป้งสาลี 500กรัม
น้ำตาล2ช้อนชา
เกลือ1/2ช้อนชา
นมจืด1/2ถต.
น้ำสะอาด3/4ถต
มาการีน1/2ช้อนโต๊ะ
ไข่เบอร์เล็กๆ1ฟอง
น้ำมันพืชสำหรับพรมและทอด


วิธีทำ

1.ผสม  เกลือ  น้ำตาล ลงในน้ำแล้วคนให้ละลาย
2.นำแป้งลงในอ่างผสม แล้วทำหลุมตรงกลาง
3.ผสมของเหลทั้งหมดวลงตรงกลางหลุมเลยค่ะ ปล.น้ำเปล่าใส่ทีละน้อย ถ้าแป้งแฉะจะแก้ยาก
4.ค่อยๆนวดเข้าด้วยกัน พอแป้งเริ่มจับตัวเป็นก้อนให้ใส่มาการีนลงไป จากนั้นนวดให้เข้ากันจนเนื้อเนียน ยิ่งนวดนานยิ่งดี
5.จากนั้นพักแป้งไว้ในอ่างโดยทาน้ำมันปิดฝาพักไว้1ชัวโมง

จากนั้นพอครบชั่วโมง ให้นำแป้งมาปั้นเป็นลูกกลมๆ ระหว่างปั้นพรมน้ำมันไปด้วย พักแป้งไว้อีก1ชั่วโมง
6.ทาน้ำมันลงบนที่ๆเราจะแผ่แป้ง ไม่งั้นแป้งจะติด โรลแป้งให้บางๆจากนั้นพับริมทั้ง4ด้าน
7.นำลงไปทอดได้เลยจ้า ใช้ไฟปานกลาง

ที่มา:  https://cooking.kapook.com/view116620.html

พม่า

ข้าวต้มมัด ของหวานประจำชาติ พม่า


ประวัติความเป็นมา
ข้าวต้มมัด หรือ ข้าวต้มผัด เป็นขนมชนิดหนึ่งที่ทำด้วยข้าวเหนียวผัดกับกะทิ แล้วนำไปห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าวอ่อน ใส่ไส้กล้วย นำไปนึ่งให้สุก ทางภาคใต้ใช้ข้าวเหนียวกับน้ำกะทิ ห่อด้วยใบพ้อ เรียกห่อต้ม ถ้าห่อด้วยใบมะพร้าว และมัดด้วยเชือกเรียกห่อมัด ขนมแบบเดียวกับข้าวต้มยังพบในประเทศอื่นอีก เช่นในฟิลิปปินส์เรียก อีบอส หรือ ซูมัน ที่แบ่งย่อยได้หลายชนิดเช่นเดียวกับข้าวต้มมัดของไทย [1]

ข้าวต้มมัดอีกชนิดหนึ่งเรียก ข้าวต้มลูกโยน เป็นขนมที่ใช้ในเทศกาลออกพรรษา ห่อด้วยใบพ้อหรือยอดมะพร้าวเป็นรูปรี ข้างในเป็นข้าวเหนียวผสมถั่วดำไม่มีไส้ ผูกเข้าด้วยกันเป็นพวงแล้วนำไปต้ม ส่วน ข้าวต้มมัดไต้ เป็นข้าวต้มที่ห่อแล้วมัดให้มีลักษณะเหมือนไต้ที่ใช้จุดไฟ ไส้เป็นถั่วทองโขลกกับรากผักชี กระเทียม พริกไทย ใส่หมู มันหมู ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำ น้ำตาลทราย ห่อด้วยใบตองเป็นแท่ง มัดเป็นเปลาะ 4-5 เปลาะ แล้วนำไปต้ม บางท้องที่ใช้เป็นขนมไหว้เจ้าในเทศกาลตรุษจีนและสารทจีนด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกข้าวต้มมัดว่า ข้าวต้มกล้วย ใช้ข้าวเหนียวดิบมาห่อ ปรุงรสด้วยเกลือนิดหน่อย ใส่ถั่วลิสงต้มสุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงห่อเป็นมัด ใส่ไส้กล้วย เอาไปต้มให้สุก ถ้าเป็นแบบผัด จะผัดข้าวเหนียวกับกะทิก่อนแล้วจึงห่อใส่ไส้กล้วย แล้วต้มให้สุก ถ้าต้องการหวานจะเอามาจิ้มน้ำตาล[2] ส่วนทางภาคเหนือนิยมนำข้าวต้มมัดที่สุกแล้วมาหั่นเป็นชิ้นๆ คลุกกับมะพร้าวขูด โรยน้ำตาลทราย เรียก ข้าวต้มหัวหงอก[3] ในประเทศลาวมีข้าวต้มมัดเช่นเดียวกันเรียกว่า "เข้าต้ม" ไส้เค็มใส่มันหมูกับถั่วเขียว ไส้หวานใส่กล้วย
ข้าวต้มมัดทางภาคใต้ไม่มีไส้ เป็นข้าวเหนียวผัดกับกะทิ ใส่ถั่วขาว ไม่นิยมใช้ถั่วดำ ออกรสเค็มเป็นหลัก ถ้าต้องการให้มีรสหวานจะเอาไปจิ้มน้ำตาล[2] และมีขนมชนิดหนึ่งเรียก ข้าวต้มญวน มีลักษณะคล้ายข้าวต้มมัดแต่ห่อใหญ่กว่า ทำให้สุกด้วยการต้ม เมื่อจะรับประทานจะหั่นเป็นชิ้นๆ คลุกกับมะพร้าวขูด เกลือและน้ำตาลทราย[4]
ในปี พ.ศ. 2557 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้ขึ้นทะเบียนข้าวต้มมัดให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ในสาขาความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล เพื่อป้องกันมิให้สูญหาย พร้อมกับมรดกทางวัฒนธรรมอย่างอื่น

ส่วนผสม ข้าวต้มมัด      • ข้าวเหนียว 2 ถ้วยตวง (แช่ทิ้งไว้ข้ามคืน)
      • กะทิ 800 มิลลิลิตร
      • เกลือ 1 ช้อนชา
      • ถั่วดำ 1 ถ้วยตวง (แช่น้ำทิ้งไว้ข้ามคืน)
      • น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
      • กล้วยหอม
      • กระดาษไข

วิธีทำข้าวต้มมัด     1. เทกะทิลงหม้อเปิดไฟอ่อน ตามด้วยข้าวเหนียว เกลือ ถั่วดำ (จะนำไปนึ่งให้สุกก่อนหรือจะผัดไปพร้อมกับข้าวเหนียวก็ได้) และน้ำตาลทราย

     2. ผัดส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน ใช้ไม้พายคนไปเรื่อย ๆ จนข้าวเหนียวดูดซึมน้ำกะทิ และกะทิเริ่มแห้ง 
     3. สำหรับคนที่หาใบตองไม่ได้ หรือบางคนอยู่ต่างประเทศไม่สะดวกขับรถไปซื้อตามร้านเอเชีย ก็จะใช้กระดาษไขแทน ห่อตามถนัดได้เลย ใส่ไส้กล้วยหอมลงไปด้วย
     4. นำไปนึ่งประมาณ 20-30 นาที ก็จะสุกน่ากิน แต่จะไม่มีกลิ่นหอมของใบตองนะคะ จะได้แค่ความหอมของกะทิแทน

ที่มา:https://cooking.kapook.com/view145148.html

ฟิลิปปินส์

เวลลาติ ของหวานประจำชาติ ฟิลิปปินส์


ประวัติความเป็นมา
เวลลาติ เป็นขนมพื้นเมืองของประเทศฟิลิปปินส์ จะทำมาจากมันสำปะหลังกวน ใส่สีผสมอาหารสีต่างๆลงไปเพื่อให้เกิดความสวยงาม มักรับประทานพร้อมกับข้าวเกรียบ ลักษณะคล้ายกับวุ้น


ส่วนผสม


                (ผลปาล์มหวาน), (มะพร้าวอ่อนนุ่ม) (ขนุน)ถั่วเขียว) (กล้ากล้วยเหมือน) (มันเทศสีม่วง) ข้าวโพด) (มะพร้าวเจลาติน) (แห้งข้าวทุบ) (ไข่มุกคล้ายกับของ boba)

วิธีทำ
               นำน้ำแข็งบดมาเติมด้วยเครื่องเคียง เช่น ถั่วเขียว ลูกตาล ขนุน มะพร้าวอ่อน ไอศกรีม วุ้นมะพร้าว สับปะรด และอื่นๆ ก่อนจะปิดท้ายด้วยการราดนมข้นหวานและน้ำเชื่อม โดยสามารถหารับประทานได้ทุกที่ในกรุงมะนิลา

ที่มา:https://bantitajeeraporn.wordpress.com

สิงคโปร์

ลอดช่องสิงคโปร์ ของหวานประจำชาติ สิงคโปร์


ประวัติความเป็นมา
ลอดช่อง คือ ขนมพื้นบ้านที่ใช้แป้งข้าวเจ้าเป็นวัตถุดิบ เป็นที่นิยมแพร่หลายในไทยชนิดหนึ่ง มีจุดกำเนิดร่วมในทั่วทั้ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศ อินโดนีเซีย[1] โดยอินโดนีเซีย[1] มาเลเซีย[2] เรียกว่า เจ็นดล อีกทั้งแพร่หลายในพม่าเวียดนาม และสิงคโปร์
ต่อมาในประเทศไทย ราวปี พ.ศ. 2504 ได้เกิด ขนมลอดช่องที่แตกแขนงออกมาอีกชนิดนึง คือ "ลอดช่องสิงคโปร์" ทำด้วยแป้งมันสำปะหลังแทนที่จะเป็นแป้งข้าวเจ้าตามแบบลอดช่องดั้งเดิม ชื่อนี้ไม่ได้เกิดจากการนำมาจากสิงคโปร์แต่อย่างใด ประเทศไทยเป็นผู้คิดค้น โดยร้าน "สิงคโปร์โภชนา" ซึ่งเป็นร้านอาหารตั้งอยู่ที่หน้าโรงภาพยนตร์สิงคโปร์หรือโรงภาพยนตร์เฉลิมบุรี บนถนนเยาวราช จึงเป็นที่มาของ "ลอดช่องสิงคโปร์"

ส่วนผสม
1. หัวกะทิ 500 มล.
2. น้ำตาลปิ๊บ 500 กรัม
3. เกลือ1/2 ช้อนชา
4. เทียนสำหรับอบน้ำกะทิ

ตัวลอดช่อง
ส่วนผสม
1.  แป้งข้าวเจ้า 100 กรัม 
2.  แป้งมัน 25 กรัม 
3.  ใบเตย 50 ใบ 
4.  น้ำปูนใส 2 ลิตร 
5.  วิธีการทำน้ำปูนใส ปูน 15 กรัม / น้ำ 3 ลิตร แช่ไว้ 1 อาทิตย์

วิธีทำ ลอดช่อง
  • 1. ทำน้ำกะทิโดย ใส่น้ำตาลปี๊บ เกลือป่น และกะทิลงในอ่างผสม ใช้มือขยำส่วนผสมเข้าด้วยกันจนน้ำตาลปี๊บละลายเข้ากันดี กรองด้วยตะแกรง 
 • 2. นำส่วนผสมน้ำกะทิขึ้นตั้งไฟปานกลาง เคี่ยวจนน้ำกะทิใกล้เดือด (ให้ส่วนผสมเดือดเฉพาะตรงกลาง ไม่เดือดพล่าน เพื่อไม่ให้กะทิแตกมัน) ประมาณ 10-15 นาที ปิดไฟ ยกลงจากเตา พักทิ้งไว้จนเย็น เตรียมไว้ (สามารถทำไว้ล่วงหน้าหรือทำทิ้งไว้ข้ามคืนได้)
• 3. ใส่ใบเตยลงในเครื่องปั่น ตามด้วยน้ำปูนใส 6-7 ถ้วย ปั่นจนละเอียด จากนั้นคั้นเอาเฉพาะน้ำ เตรียมไว้
  • 4. ใส่แป้งข้าวเจ้า แป้งมันสำปะหลัง และแป้งถั่วเขียวลงไปในน้ำใบเตย โดยปล่อยให้แป้งค่อย ๆ จมลงไปในน้ำจนหมด
 • 5. ใส่ส่วนผสมลงในกระทะก้นลึกขนาดใหญ่ นำขึ้นตั้งไฟปานกลาง กวนผสมตลอดเวลา ใช้เวลาประมาณ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง พอแป้งเริ่มเหนียว ค่อย ๆ เทน้ำปูนใสที่เหลือลงไปจนหมด กวนจนส่วนผสมเหนียว และมีสีใส
             • 6. ตักส่วนผสมแป้งใส่เครื่องกดลอดช่อง กดแป้งเป็นเส้น ๆ ลงในน้ำเย็นจัด จากนั้นตักส่วนผสมขึ้น ใส่ลงในถ้วย ตามด้วยน้ำกะทิที่เตรียมไว้ และน้ำแข็ง พร้อมเสิร์ฟ


ที่มา:https://food.mthai.com/dessert/126822.html

เวียดนาม

ขนมเบื้องญวนของหวานประจำชาติ เวียดนาม




ประวัติความเป็นมา
บั๊ญแส่ว หรือที่เรียกกันในประเทศไทยว่า ขนมเบื้องญวน เป็นอาหารเวียดนามลักษณะคล้ายแพนเค้กที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำ และผงขมิ้นหรือกะทิ (ในพื้นที่ภาคใต้) ยัดไส้ด้วยมันหมู กุ้ง และถั่วงอกแล้วนำมาทอดในกระทะ ตามธรรมเนียม บั๊ญแส่วจะห่อด้วยใบมัสตาร์ด ใบผักกาด หอม และยัดด้วยใบสะระแหน่ ใบโหระพา หรือสมุนไพรอื่น ๆ แล้วจิ้มด้วยเนื้อกเจิ๊ม (น้ำปลาของเวียดนามที่มีส่วนผสมของน้ำและมะนาว) ในภาคกลางจะรับประทานบั๊ญแส่วกับซอสเตือง ซึ่งประกอบด้วยตับ ซอสฮอยซิน และกระเทียม
บั๊ญแส่วในภาคใต้จะมีขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ในภาคกลาง บั๊ญแส่วในภาคใต้จะมีชื่อเรียก ว่า "บั๊ญคว้าย"  หรือไข่เจียวยัดไส้ ซึ่งทุกวันนี้ได้เป็นหนึ่งในอาหารที่คนรู้จักกันดีจากภาคกลาง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าและเพิ่มรสชาติด้วยกับผงขมิ้นแล้วนำไปทอดในกระทะจนกรอบ บั๊ญคว้ายจะยัดไส้ด้วยหมูสับ ไข่ กุ้ง ถั่วงอก ถั่วเขียวบดแล้วก็พับ เวลาจะรับประทานให้ใช้ตะเกียบแยกเป็นชิ้น ๆ และนำมาห่อด้วยผักสมุนไพรสดแล้วจุ่มลงในซอสเตือง ซึ่งประกอบด้วยตับ ซอสฮอยซิน และกระเทียม ส่วนผักสมุนไพรสดต่าง ๆ จะช่วยลดความมันในอาหารทอด ในอาหารกัมพูชาจะมีจานที่คล้ายบั๊ญแส่ว เรียกว่า "บัญแชว"ส่วนชาวเขมรใต้ที่อยู่เวียดนามภาคใต้ เรียกว่า "นมจักอำแบง"

ส่วนผสม ไส้ขนมเบื้องญวน

          • มะพร้าวขูด 2 ขีด 
          • หมูสับ 3 ขีด
          • กระเทียม
          • รากผักชี
          • เกลือป่น ประมาณ 3-4 ช้อนกินข้าว
          • น้ำตาลทราย 5-6 ช้อนกินข้าว  
          • พริกไทยป่น 5 ช้อนกินข้าว (หรือพริกไทยเม็ด)
          • สีผสมอาหารสีเหลือง
          • เต้าหู้หั่นเต๋าทอด 
          • ไชโป๊สับ 
          • กุ้งแห้งป่น 
          • ถั่วลิสงคั่วป่น 
          • ผักชีซอย
          • แตงกวาหั่น 
          • พริกแดงซอย 
          • หอมแดงซอย
          • ถั่วงอก 

วิธีทำไส้ขนมเบื้องญวน
 • นำมะพร้าวขูดกับหมูสับใส่ลงในอ่างผสม
  • คลุกให้เข้ากัน ใครจะใช้กุ้งก็ได้ แต่ที่บ้านใช้หมูสับเพราะหาง่ายกว่า ใส่ได้เยอะกว่า ถูกกว่า และสะดวกกว่า 
• โขลกกระเทียมกับรากผักชีเข้าด้วยกัน ใส่รากผักชีเยอะ ๆ หน่อยจะได้หอม ๆ หรือจะใส่พริกไทยเม็ดลงโขลกด้วยก็ได้ แต่ในสูตรใช้พริกไทยป่นเลยจะเอาใส่ภายหลัง 
 • นำกระเทียมกับรากผักชีโขลกลงไปผัดกับน้ำมัน
  • ใส่หมูที่คลุกมะพร้าวลงไปผัด
 • ใส่เกลือป่นลงไป
   • ตามด้วยน้ำตาลทราย ถ้าไม่หวานใส่ภายหลังได้ จะไม่ใส่น้ำตาลปึก เพราะไส้ผัดเก็บไว้หลายวันได้ไม่เปรี้ยว น้ำตาลปึกสมัยนี้ใส่แบะแซจะทำให้เปรี้ยวได้ถ้าเก็บนาน ๆ 
• ใส่พริกไทยป่นลงไปเยอะหน่อย ผัดให้เข้ากันดี 
 • หยดสีผสมอาหารสีเหลืองนิดเดียวพอเพื่อแต่งสีให้สวย
   • ผัดไปสักพักจนไส้แห้งเหมือนในภาพ จะได้รสเค็ม ๆ หวาน ๆ
 • เครื่องเยอะนิดหน่อย มีเต้าหู้หั่นเต๋าทอด ไชโป๊สับ (ล้างจนไม่เค็ม) กุ้งแห้งป่น ถั่วลิสงคั่วป่น ผักชีซอย
 • หั่นแตงกวา พริกแดง และหอมแดง สำหรับทำอาจาดไว้กินคู่กัน

ที่มา:https://cooking.kapook.com/view152369.html